วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557




ความสำคัญของพระพุทธศาสนา






                    พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ โดยมิได้ทรงสร้างขึ้นเอง และมิได้ทรงรับคำสั่งสอนจากเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น การบรรลุธรรมด้วยตนเองโดยอบธรรม โดยคนนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น เพราะคำว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้หรือ ผู้รู้สัจธรรม การที่พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เหมาะสมกับบุคคลทุกระดับชั้นและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้เอง จังเป็นที่ยอมับกันโดยทั่วไปว่ามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางพระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คำว่า ทฤษฎี หมายถึง หลักการ คำว่า วิธีการ หมายถึง แบบอย่างหรือกฎเกณฑ์ และคำว่า สากล หมายถึง ทั่วไป เป็นที่ยอมรับกันทั่ว ดังนั้นจากที่กล่าวว่า พระพทุธศาสนามีทฤษฏีและวิธีการที่เป็นสากล จึงหมายถึง พระพุทธศาสนามีหลักคำสั่งสอนที่มีหลักการและกฎเกณฑ์ ซี่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าถูกต้อง เป็นจริง พิสูจน์และเชื่อถือได้    หลักคำสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากมีอยู่หลายเรื่อง เช่น หลักกรรม หลักแห่งเหตุผล และปัจจัยที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา) หลักอริยสัก หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน หลักบูรณาการ ตี่พระพุทธองค์ทรงนำมาสอนมากเป็นพิเศษ คือ หลักอริยสัจ 4ประกอบด้วย หลัก 4 ประการ ดังนี้     1. ชีวิตและโลกนี้มีปัญหา (ทุกข์) ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีปัญหา มีทั้งปัญหาสากล เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่สมปรารถนา ความพลัดพรากจากบุคคล สัตว์ สิ่งของ อันเป็นที่รัก ฯลฯ และปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ     2. ปัญหามีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอย ๆ (สมุทัย) ปัญหามนุษย์เผชิญอยู่ดังข้างต้น มิใช่เกิดขึ้นลอย ๆ หรือบังเอิญ โดยไม่มีเหตุปัจจัย ทุกปัญหาเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุทั้งนั้น แต่เป็นเพราะเรามองไม่เห็นไม่เข้าใจปัจจัยของปัญหา จึงคิดว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
    3. มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (นิโรธ) เนื่องจากปัญหาทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ การแก้ปัญหาได้ต้องสืบสาวหาสาเหตุให้พบ แล้วแก้ปัญหาที่สาเหตุนั้น พระพุทธศาสนาสอนไว้ว่า มนุษย์มีศักยภาพหรือความสามารถเพียงพอที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยตัวมนุษย์เองโดยมิต้องพึ่งพา ผีสางเทวดาหรืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ มาดลบันดาล
    4. การแก้ปัญหานั้น ต้องใช้ปัญญาและความเพียร (มรรค) ในการแก้ปัญหา จำเป็นต้องใช้ปัญญา (ความรู้) และวิริยะ (ความเพียร) อย่างเกื้อหนุนกัน จึงสามารถแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ กล่าวคือ จะต้องรู้ว่าอะไรคือปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร มีหนทางแก้หรือไม่ จะแก้อย่างไร จะแก้อย่างไร เมื่อรู้แล้วจึงลงมือแก้ไขปัญหานั้นด้วยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง

อริยสัจ 4 ประการนี้เป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คือ สามารถนำไปแก้ปัญหาหรือความทุกข์ของทุก ๆคนได้ 

พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง 
    ทางสายกลาง หมายถึง ทางที่ยึดความพอดี หรือข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด หรือเรียกสั้น ๆ  มรรค 8 ประการ คือ
        1. สัมมาทิฎฐิ คือความเห็นชอบ เช่นเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เห็นว่าพ่อแม่มีพระคุณต่อเรา เห๋นว่าร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้น
        2. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบ ได้แก่ คิดที่จะไม่โลภ อยากได้ของผู้อื่นหรือคิดที่จะหลุดพ้นจากอำนาจของสิ่งน่าปรารถนายั่วยวนใจทั้งหมด (กาม) คิดที่จะไม่พยาบาทอาฆาตผู้อื่น และคิดที่จะไม่เบียดเบียนใครให้เดือนร้อน
        3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ หมายถึง การพูดจาที่เว้นจากลักษณะของการพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ โดยการพูดแต่สิ่งที่เป็นจริงมีประโยชน์ พูดด้วยความเมตตา พูดจาไพเราะ พูดในเวลาที่ควรพูด
        4. สัมสมกัมมันตะ คือ การทำงานชอบ หมายถึง การประพฤติหรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเว้นจากการประพฤติดีชั่วทางกาย 3 ประการ คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และประพฤติในกาม
        5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ โดยเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เช่น การหลอกลวงเขากิน ปล้น การปล้นเขา การบังคับผู้อื่นให้ค้าประเวณี การค้ายาเสพติด เป็นต้น
        6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรพยายามชอบ หมายถึง ความเพียรพยายามทำสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ความเพียรพยายาม ระมัดระวังตนมิให้ทำความชั่ว ที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพียรพยายามทำความดีให้เกิดขึ้นกับตน เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นในตนให้อยู่ตลอดไป
        7. สัมมสติ คือความระลึกชอบ หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งหลายที่ปรากฎตามสภาพความเป็นจริง ได้แก่การพิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึกของตนให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง ได้แต่การพิจารณาธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ตามสภาพของธรรมนั้น
        8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ การตั้งจิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งหนึ่งโดยชอบ

องค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติสายกลางที่ไม่เคร่งครัดจนเกินไปและไม่ย่อท้อจนเกินไป เป็นข้อปฏิบัติที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติความหมดทุกข์หรือหมดปัญหาได้อย่างแน่นอน

ตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่นำทางสายกลางมาประยุกต์ 
    มาดี เป็นนักเรียนชั้น ม.6 เรียนเก่ง ได้เกรดเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป เขาได้ไฝ่ฝันที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในสาขาที่ตนชอบ จึงมุมานะพยายามอย่างหนัก เคร่งครัด เครียดตลอดเวลา ไม่คุยกับเพื่อน ไม่เล่นกีฬา นอนน้อย เพียง 2 ชั่วโมง ใกล้สอบคัดเลือก เริ่มมีความวิตกกังวลเริ่มมีอาการปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวโกรธ เขาไม่สามารถทำข้อสอบได้ พ่อแม่ร่วมให้กำลังใจ จึงค่อยสบายใจ ปีต่อมา มีอิสระ วางแผนใหม่ พักผ่อน ออกกำลัง คุยกับเพื่อน ไม่เครียด ในที่สุดก็สอบได้ตามความต้องการ เพราะหลักทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา มาประยุกต์ใช้

พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง 
    ศรัทธา คือความเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา หรือเหตุผล ซึ่งเรียกกว่า ศรัทธาเพื่อปัญญา แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้คนมีศรัทธา แต่ศรัทธาของพระองค์นั้นต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาให้รอบคอบเสียก่อน ดังที่ทรงสอนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม ในแคว้นโกศลว่า อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพียงเพราะฟังตาม ๆ กันมา เพียงเพราะถือปฏิบัติกันสืบ ๆมา เพียงข่าวเล่าลือ เพียงเพราะการอ่านตำราหรือคัมภีร์ เพียงเพราะการให้เหตุผลแบบตรรกะเพียงการอนุมานเอาตามอาการที่ปรากฏ เพียงเพราะเห็นว่าเข้ากันได้ตรงตามทฤษฎีหรือความคิดหรือความคิดของตน เพียงเพราะเห็นว่ารูปลักษณะน่าเชื่อถือ และเพียงพอถือว่าสมณะหรือนักบวชผู้นี้เป็นครูของเรา แต่เมื่อใดได้ใช้ปัญญาพิจารณาโดยรองคอบแล้ว และเห็นว่าที่ทำไปนั้น ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือนร้อน อีกทั้งปราชญ์ไม่ติเตียน ก็จงทำสิ่งนั้น หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ หากทรงสอนเรื่องศรัทธาในเรื่องใด ก็จะทรงสอนปัญญากำกับไว้ในเรื่องนั้นด้วย หมายความว่า ทรงสอนให้ใช้ศรัทธาประกอบด้วยปัญญาเสมอไป

    ตัวอย่างในหลักคำสอน หมวด พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง) ประกอบด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ) ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พหุสัจจะ จาคะ และปัญญา จะเห็นได้ว่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องมีปัญญากำกับด้วยเสมอ ซึ่งต่างจากศาสนาอื่น บางศาสนาที่จะสองให้ศรัทธาอย่างเดียว คือ ถ้าพระคัมภีร์สอนอย่างนี้จะต้องเชื่อตามโดยไม่มีข้อแม้ ถ้าหากไม่เชื่อถือว่าบาป พระพุทธศาสนา แม้แต่การสอนหลักธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงบังคับให้เชื่อตามพระองค์แต่อย่างใด ทรงแนะให้พิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผลและเห็นด้วยจึงเชื่อ

การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง 
    ศรัทธา  ในกระบวนการพัฒนาตามหลักพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อมั่น การซาบซึ้ง ความมั่นใจเหตุเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริง และมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบมอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา แบ่งออกเป็น 4 ประการ
        1. ความเชื่อมั่นในศักยภาพในการเข้าถึงอิสรภาพทีแท้จริงของมนุษย์ (ตถาคตโพธิสัทธา)
        2. ความเชื่อมั่นในกฎการกระทำ (กัมมาสัทธา)
        3. ความเชื่อมั่นในผลของการกระทำ (วิปกาสัทธา)

    ปัญญา หมายถึง ความรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนา มีลักษณะ  3 ประการ คือ  
        1. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษของความเสื่อม (อปายโกศล)
        2. ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ (อายโกศล)
        3. ความรู้จักวิธีการละเหตุความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ (อุปายโกศล)

จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนให้ได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้ว จึงค่อยเชื่อ

สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล 
    ชมพูทวีป เป็นดินแทนที่เป็นแหล่งกำเนินของพระพุทธศาสนา ตามรูปศัพท์ คำว่า ชมพูทวีป แปลว่า เกาะแห่งต้นหว้า สันนิษฐานว่า อดีตอาจมีต้นหว้าขึ้นอยู่มากมายในดินแดนแห่งนี้ ชมพูทวีปดก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามา เดิมเป็นถิ่นที่อยู่พวก ดราวิเดียน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติที่พูดภาษาทมิฬ เตลุคุ มาลาบาร์ และ  กะนะริส

    เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนพุทธกาล พวกอารยัน ซึ่งเป็นชนผิวขาวได้อพยพเข้ามายึดครองดินแดนส่วนที่อุดมสมบูรณ์ได้ รุกไล่ชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางทิศใต้ และทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคง ส่วนพวกอารยันได้เข้าครอบครองดินแดนตอนเหนือ ได้แก่ ส่วนที่เป็นภาคเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน ดินแดนบริเวณนี้ในสมัยพุทธกาลเรียกกว่า มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ

    พวกอารยัน เมื่อเข้ามายึดครองดินแดงชมพูทวีป ได้เรียกชนพื้นเมืองหรือดราวิเดียนว่า ทัสยุ หรือ ทาส หรือ มิลิกขะ ซึ่งแปลว่า ผู้ที่ไม่เจริญ เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ อริยกะ ซึ่งแปลว่า ผู้เจริญ 

ด้านการปกครอง 
    สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีป มักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม คือ พระราชวงศ์ชั้นผูใหญ่และประชาชนมสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญให้สละราชสมบัติได้ สมัยก่อนพุทธกาล การปกครองมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นแคว้น ๆ ตามที่ระบุในติกนิบาตร อังคตตรนิกาย พระสุตตันตปิฏก พระไตรปิฏก เล่มที่ 20 มีทั้งหมด 21 แคว้น แบ่งเป็นแคว้นใหญ่ 16 แคว้น และแคว้นเล็ก ๆ อีก 5 แคว้น
        1. แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
        2. แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อสาวัตถี พระเจ้ามหาโกศล รุ่นเดียวกับพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นสหายกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ
        3. แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพี พระเจ้าอุเทนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
        4. แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่อุชชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
        5. แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อเวสาลี มีการปกครองแบบสามัคคีธรรม มีแคว้นสักกะ แคว้นมัลละ มีการปกครองเดียวกัน

ลักษณะการปกครอง
    1. ราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นรูปแบบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุข มีอำจาจสูงสุด เด็ดขาด มีรัชทายาทสืบสันติวงศ์ มีแคว้นมคธ แคว้นโกศล แคว้นวังสะ และแคว้นอวันตี เป็นต้น
    2. สามัคคีธรรม เป็นรูปแบบที่ไม่มีกษัตริย์ใช้อำนาจสิทธิ์ขาดเพียงผู้เดียว ไม่มีรัชทายาทสืบสันติวงศ์ ผู้ได้รับการคัดเลือกและมอบหมายจากประชาชนให้เป็นประมุข โดยดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนด การบริการแคว้นจะดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนด การบริการแคว้นจะกระทำ เพื่อวินิจฉัยตัดสินปัญหาต่าง ๆ โดยยึดเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยสัณฐาคารหรือเรียกว่า รัฐสภาในปัจจุบัน เพื่อวินิจฉัยตัดสินปัญหาต่าง ๆ เช่น แคว้นสักกะ แคว้นมัลละ แคว้นวัชชี ชาวพื้นเมืองหรือพวกที่อารยันเรียกว่า มิลักขะ ความจริงเป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองด้านวัตถุ เช่นสถาปัตยกรรม และด้านจิตใจ เช่น ด้านศาสนา ปรัชญา อาจกล่าวได้ว่า มีความเจริญรุ่งเรือกว่าพวกอารยันเสียอีก 

    เมื่อพวกอารยันยึดครองดินแดนชมพูทวีปก็ได้นำความเจริญด้านศาสนา ปรัชญามาปรับใช้และพัฒนาให้เป็นประโยชน์แก่ตนเป็นเครื่องมือในการปกครองชาวพื้นเมืองหลักศาสนาที่พวกอารยันนำมาปรับใช้ในการปกครองชาวพื้นเมืองก็คือ ศาสนาพราหมณ์ เพราะชาวพื้นเมืองนับถือพระพรหม และเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์ และเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ ตามความเชื่อในลักษณะนี้ เรียกว่า พรหมลิขิต พวกอารยันก็สวมรอยว่า พระพรหมได้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ไว้ 4 วรรณะ คือ 
        1. วรรณะพราหมณ์ โดยกำหนดให้พราหมณ์หรือนักบวช ครู อาจารย์ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ศึกษาพระคัมภีร์ ประกอบพิธีศาสนา และสั่งสอนศิลปวิทยา เชื่อกันว่าคนในวรรณะนี้เกิดจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพรหม
        2. วรรณะกษัตริย์ โดยกำหนดให้ผู้ปกครองบ้านเมือง นักรบ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง เชื่อกันว่ากลุ่มคนในวรรณะนี้เกิดจากพระพาหา (แขน) ของพระพรหม
        3. วรรณะแพศย์ โดยกำหนดให้พ่อค้า นักธุรกิจ สถาปนิก วิศวกร แพทย์ อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ค้าขาย ทำธุรกิจต่าง ๆ เชื่อกันว่ากลุ่มคนในวรรณะเกิดเกิดจากพระอูรู (โคนขา หรือ ตะโพกของพระพรหม)
        4. วรรณะศูทร โดยกำหนดให้กรรม ลูกจ้า คนแบกหาม อยู่ในวรรณะนี้ มีหน้าที่ รับใช้คนในวรรณะทั้งสามข้างต้น เป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย ซึ่งเชื่อกันว่า เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม

    การจัดแบ่งชนชั้นทางสังคมของชาวชมพูทวีป โดยได้ใช้ระบบวรรณะในสมัยต้น ๆ ยังไม่เคร่งครัด และยังไม่ก่อปัญหาใด ๆ เพราะเป็นการแบ่งเพื่อความเหมาะสมของฐานะหน้าที่ของงานบุคคล และเพื่อประโยชน์ในการปกครอง แต่ภายหลังเฉพาะช่วงสมัยที่พวกพราหมณ์มีอำนาจ ได้มีการแปรเปลี่ยนความหมาย หลักการ และสาระสำคัญของการจัดแบ่งชั้น วรรณะในทางอื่นคือ พวกพราหมณ์อ้าง การจัดแข่งวรรณะเช่นนี้มิใช่ตัวเองเป็นผู้แบ่ง แต่เป็นพระผู้เป็นเจ้าเบื้องบนทรงเป็นผู้กำหนด จึงได้ถือกันอย่างเคร่งครัด ผู้อยู่วรรณะใดก็ต้องดำรงตนอยู่ในวรรณะนั้นตลอดไป และการประกอบอาชีพก็ต้องให้เป็นไปตามหน้าที่ของตน จะทำงานก้าวก่ายกันไม่ได้

    ระบบวรรณะแพร่หลายไปทั่วประเทศอินเดียและเนปาล พระสิทธัตถะ ซึ่งเกิดในวรรณะกษัตริย์ ทรงรับรู้ปัญหามาโดยตลอด ทรงคิดว่า ถ้าสังคมยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่สอนให้เชื่อเรื่องพรหมลิขิต และยอมรับเรื่องระบบวรรณะอยู่ ประชาชนที่จัดอยู่ในวรรณะอันต่ำต้อย จะไม่มีโอกาสเป็นไทแก่ตนเองได้เลย ด้วยพระเมตตากรุณาต่อมนุษย์ พระองค์จึงทรงคิดหาทางปฏิวัติความคิดความเชื่อของประชาชนให้เลิกเชื่อเรื่องพรหมลิขิต  เวลา 6 ปี พระองค์ทรงค้นคว้า ทดลอง จนทรงค้นพบหนทางที่ช่วยให้มนุษย์เป็นไทแก่ตนเอง จากนั้นทรงประกาศสัจธรรมที่ตรัสรู้ คือ หลักกรรมลิขิต โดยพระองค์ทรงสั่งสอนว่า ชีวิตคนเราจะดีหรือชั่วไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรหมลิต หากขึ้นอยู่กับการกระทำของเรานั่นเอง







การละเล่น

มอญซ่อนผ้า


     
       อุปกรณ์
        ผ้าเช็ดหน้าขนาดใหญ่หนึ่งผืน ไม่ต้องขมวดหรือพันให้เป็นเกลียว เพราะถ้าฟาดถูกผู้ใดเข้าแล้วจะเจ็บ

        วิธีเล่น
        ขั้นที่ ๑ ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุด ถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอก ที่เหลือนอกนั้นนั่งกันเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน ในระยะห่างกันประมาณ ๑ ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตัก คุยกันหรือร้องเพลงก็ได้ เพื่อความรื่นเริง
        ขั้นที่ ๒ ให้ผู้ถือผ้าบังตัวไว้มิให้ผู้นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆ วงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิท เดินบ้างวิ่งบ้าง ทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วาง เพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นเป็นโอกาสแล้วก็แอบหย่อนผ้าลงไว้ใกล้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่ง เมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้นั้นต้องรู้ตัว
        ขั้นที่ ๓ ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึง ก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้ แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้หนึ่งผู้ใดต่อไป แต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัว จนผู้ที่วางวิ่งมาถึงก็หยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกวางจนกว่าจะลุกขึ้นรับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนที่
ข้อระวังในการเล่น ผู้นั่งทุกคนจะหันหน้าไปดูข้างหลังไม่ได้ ถ้าหากสงสัยว่าจะมีผ้าอยู่ข้างหลังตนหรือไม่ก็ให้ใช้มือคลำดูเท่านั้น ผู้ถือต้องวางผ้าลงข้างหลังให้ใกล้ตัวผู้นั่ง จะวางเกินกว่า ๑ ศอกไม่ได้และให้วิ่งหรือเดินต่อไปข้างหน้าจนบรรจบรอบ จะหันหลังเดินย้อนมาไม่ได้


        เพลงประกอบการเล่น
        "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง  ใครเผลอคอยระวัง ใครเผลอคอยระวัง ตุ๊กตาอยู่ข้างหลังระวังจะถูกตี” 

        คุณค่า/แนวคิด/สาระ
        1. เพื่อหัดให้ผู้เล่นเป็นคนว่องไว
        2. เพื่อฝึกให้ผู้เล่นเป็นคนที่มีไหวพริบและรู้จักสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ






ประเพณีรับบัว


ประเพณีรับบัวโยนบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาจากผู้เฒ่าผู้แก่บางพลีว่า เกิดขึ้นประมาณ 80 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการนมัสการหลวงพ่อโต เล่ากันว่าเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธรแปดริ้ว และหลวงพ่อวัดบ้านแหลมสมุทรสงคราม

          ตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อโตลอยตามน้ำเจ้าพระยา มาหยุดที่ปากคลองสำโรงลอยอยู่แถว ๆ นั้น เป็นการแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ว่าจะจำพรรษาอยู่ละแวกนั้นอย่างแน่นอน ชาวบ้านจึงช่วยกันชักรั้งนิมนต์เข้ามาจนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปัจจุบัน แล้วอัญเชิญขึ้นไว้ในโบสถ์ หลวงพ่อโตจึงเป็นหลวงพ่อของชาวบางพลีตั้งแต่นั้นมา 
หลังจากนั้นทุก ๆ ปี ชาวบางพลีจะนิมนต์หลวงพ่อขึ้นเรือ แล่นไปให้ชาวบ้านได้นมัสการ โดยครั้งแรกทำเป็นรูปจำลองโดยเอาไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดหุ้มด้วยกระดาษทอง ชาวบ้านจะพากันคอยนมัสการหลวงพ่ออยู่ริมคลอง ต่างก็จะเด็ดดอกบัวริมน้ำ แล้วโยนเบา ๆ ขึ้นไปบนเรือหลวงพ่อ

          การรับบัวโยนนี้แต่เดิมคงเล่นกันมาก่อนที่จะกลายเป็นประเพณีนมัสการหลวงพ่อโต เพราะตามคำเล่าต่อ ๆ กันมาเล่าว่า ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงชุกชุมและมีมากในฤดูฝน ดังนั้น การบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษา ประชาชาชนต่างท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับอำเภอเมืองบางพลี โดยเฉพาะชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการกับชาวอำเภอพระประแดง จึงพากันไปหาดอกบัวหลวงในท้องที่อำเภอบางพลี 

          
ในสมัยแรก ๆ คงจะไปเที่ยวเก็บกันเองตามลำคลองหนองบึงต่าง ๆ แต่ในสมัยต่อมา ชาวบางพลีได้เก็บหรือจัดเตรียมดอกบัวหลวงไว้สำหรับแจกชาวต่างบ้านที่ต้องการโดยไม่คิดมูลค่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่กันหรือเพื่อหวังบุญกุศลร่วมกัน อันกลายมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า "รับบัว" 

          แต่ปัจจุบันนี้ชาวต่างท้องที่ดูจะไม่สนใจที่จะไปหาดอกบัวหลวงที่ท้องอำเภอบางพลีเหมือนสมัยก่อน ทางราชการอำเภอบางพลีก็คงจัดให้มีการรับบัวขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่ต่อไป

          ในสมัยก่อนนั้นในแถบอำเภอบางพลี มีประชาชนอยู่อาศัยเป็น 3 พวก คือ คนไทย รามัญ และคนลาว แต่ละพวกก็มีหัวหน้าควบคุมดูแล และทำมาหากินต่างกัน ต่อมาทั้ง 3 กลุ่มได้ปรึกษาที่จะร่วมแรงร่วมใจกันหักร้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่และทำสวนต่อ และเมื่อถางป่ามาถึงทาง 3 แยก ซึ่งตกลงกันจะแยกทำมาหากินไปคนละทาง

          พวกรามัญที่แยกกันไปทำมาหากินทางคลองลาดกระบังทำอยู่ได้ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผล เพราะนกและหนูชุกชุมรบกวน จนพืชผลเสียหายมาก เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญก็ปรึกษากันเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมคือปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไปมากมาย คนไทยที่คุ้นกับพวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด และชักชวนคนไทยที่รักและสนิทชิดชอบกันว่าในปีต่อไป พอถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้คนไทยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตด้วย แล้วพวกตนจะมารับ

          ในปีต่อมา พอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยก็ช่วยกันเก็บดอกบัว รวบรวมไว้ที่บางพลีใหญ่ในตามคำขอร้องของพวกรามัญ พวกรามัญก็มารับดอกบัวไปทุกปี

          พวกรามัญที่มารับดอกบัวนั้นมาโดยเรือขนาดใหญ่จุคน 50-60 คน โดยจะมาถึงตี 3-4 และเมื่อมาถึงวัดก็ตีฆ้องร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน พวกที่มาคอยรับพลอยเล่นกันสนุกสนานไปด้วย และคนไทยจึงได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญดีแล้วพวกรามัญนำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนดอกบัวที่เหลือพวกรามัญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพัน ที่วัดของตนต่อไป นี่เป็นที่มาของประเพณีรับบัวที่รับรู้และปฏิบัติสืบต่อกันมา

          สำหรับประชาชนทั่วไป ทั้งชาวต่างบ้านและชาวบางพลีเองก็จะไปเที่ยวดูงานโยนบัวและรับบัว และเที่ยวดูการละเล่น หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางอำเภอจัดขึ้น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการและชาวอำเภอพระประแดงจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงพากันลงเรือเป็นเรือพายบ้าง เรือแจวบ้าง ลำเล็กบ้าง ลำใหญ่บ้าง และต่างก็นำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ไปด้วย เช่น ซอ ปี่กระจับ โทน รำมะนา โหม่ง กรับ ฉิ่งฉาบ เป็นต้น แล้วแต่ใครจะถนัด หรือมีเครื่องดนตรีชนิดไหน พายกันไป แจวกันไป ร้องรำทำเพลงกันไป เป็นที่สนุกสนาน ตลอดระยะทาง และเป็นเช่นนี้ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่น ๆ เข้าคลองสำโรงและมุ่งไปยังหมู่บ้านบางพลีใหญ่

          สำหรับชาวบางพลีก็จะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องหาดอกบัวหลวง สำหรับไว้มอบให้แก่ชาวต่างบ้านที่ต้องการมิตรต่างบ้านมาเยือนในโอกาสเช่นนั้นก็แสดงมิตรจิตต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกัน ตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัว คนใดที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพากันขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ 

          
ต่างก็จะสนุกสนานร้องรำทำเพลงและรับประทานสุรา อาหาร ร่วมกันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวต่างบ้านก็จะนำเรือของตนไปตามลำคลองสำโรง และไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และรับดอกบัวก็จะกระทำอย่างสุภาพคือส่งและรับกันมือต่อมือหรือก่อนจะให้กันยกมือพนมอธิษฐานเสียก่อน ระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวบ้านต่างที่สนิทสนมคุ้นเคยกันนี้เอง เมื่อนานเข้าก็ค่อยกลายเป็นความนิยมกันเป็นการทั่วไปการให้และรับกันแบบมือต่อมือจึงเปลี่ยนไปจนมีการนำมาพูดในตอนหลังว่า "โยนบัว" แทนคำว่า "รับบัว"

          การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวต่างบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับนี้จะมีการแข่งเรือกันไปด้วย แต่เป็นการแข่งกันโดยไม่มีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภท หรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใคร เมื่อไร ที่ใด ก็แข่งขันกันไป หรือเปลี่ยนคู่แข่งขันไปเรื่อย ๆ ตามแต่จะสะดวกหรือตกลงกัน

          
ดอกบัวที่ชาวต่างบ้านได้รับจากชาวบางพลีนั้นก็จะนำไปบูชาพระในวันเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน ส่วนใหญ่จะนำไปบูชาพระสมุทรเจดีย์ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองสมุทรปรากา




แหล่งอ้างอิง


คุณธรรม  จริยธรรมครู



วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู


                   การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 

       วินัยและการรักษาวินัย  
    1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
    2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
    3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด              
    4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ              
    5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง              
    6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
   7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ        
   8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง              
   9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน                 
 10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง                
  11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท                
  12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
   13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว                    
            คุณธรรม จริยธรรมของครู                                  
        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร                
        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง              
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง             
       4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น           
       5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน             
       6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์          
       7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น               
       8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที              
       9.ครูต้องไม่ประมาท               
     10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี         
     11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ               
     12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา      
     13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น               
     14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์           
     15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา          
     16.ครูต้องมีการให้อภัย              
     17.ครูต้องประหยัดและอดออม               
    18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่               
    19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ             
    20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

               จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
                  1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ

                  2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
                  3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
                  4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                  5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
                  6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ
                  7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
                  8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
                  9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข